วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เตยหอมและว่านหางจระเข้



ชื่อสมุนไพร

เตยหอม

เตยหอม 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pandanus amaryllifolius
        เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบเป็นทางยาว สีเข้ม ค่อนข้างแข็ง เป็นมัน ขอบใบเรียบ ในใบมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย Fragrant Screw Pine สีเขียวจากใบเป็นสีของคลอโรฟิลล์ ใช้แต่งสีขนมได้


น้ำเตยหอม

ส่วนที่ใช้และวิธีทำ
       นำใบเตยสดล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนๆใส่หม้อต้มด้วยน้ำสะอาด พอเดือดก็ลดไฟลง เคี่ยวไปเรื่อยๆจนมองเห็นสีของใบเตยสีเขียวอ่อนเจือจาง ตักใบเตยออกด้วยการกรองให้เหลือแต่น้ำใบเตย เอาเกลือป่นใส่ครึ่งช้อนชา ตามด้วยน้ำเชื่อม ปล่อยให้เดือดต่อไปอีก 5 นาที

ประโยชน์และสรรพคุณ
        ในบังกลาเทศเรียกว่า ketaki ใช้เพิ่มกลิ่นหอมของ ข้าวพิลาฟ หรือข้าวปุเลา บิรยานี และพุดดิ้งมะพร้าว payesh ในอินโดนีเซียเรียก pandan wangi พม่าเรียก soon-mhway ในศรีลังกาเรียก rampe [2] ในเวียดนามเรียก lá dứa ใบใช้ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง และมีขายในรูปใบแช่แข็งในประเทศที่ปลูกไม่ได้ ใช้ปรุงกลิ่นในอาหารของหลายประเทศเช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทย บังกลาเทศ เวียดนาม จีน ศรีลังกา และพม่า โดยเฉพาะข้าวและขนมช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยลดอาการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มชื่น


----------------------------------------------------


ว่านหางจระเข้


ว่านหางจระเข้ 
        เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม (Lilium) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน



น้ำว่านหางจระเข้


ส่วนที่ใช้และวิธีทำ
         เอาว่านหางจระเข้มาปอกเปลือก ล้างน้ำเอายางสีเหลืองออกให้หมด ต้มให้สุกแล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใบเตยหอมเช่นกัน นำมาหั่นชิ้นเล็กๆนำไปต้มเพื่อเอาน้ำมาใช้ประโยชน์ .เอาว่านหางจระเข้ผสมรวมกับน้ำเตยหอม น้ำเชื่อม ใส่เครื่องปั่น ตามด้วยน้ำแข็งทุบ ปั่นจนละเอียด เทใส่แก้วดื่มใด้ทัน

ประโยชน์และสรรพคุณ
        วุ้นในใบว่านหางจระเข้มีสารเคมีอยู่หลายชนิด เช่น Aloe-cmidin, Aloesin, Aloin, สารประเภท Glycoprotein และอื่นๆ ยางที่อยู่ในว่านหางจระเข้มีสาร Anthraquinone ทีมีฤทธิ์ขับถ่ายด้วย ใช้ทำเป็นยาดำ มีการศึกษาวิจัยรายงานว่า วุ้นหรือน้ำเมือกของว่านหางจระเข้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง และแผลในกระเพาะอาหารได้ดี เพราะในวุ้นใบว่านหางจระเข้นอกจากจะมีสรรพคุณรักษาแผลต่อต้านเชื้อแบคทีเรียแล้วยังช่วยสมานแผลได้ด้วย


มะระขี้นกและตำลึง



ชื่อสมุนไพร

ผลมะระขี้นก

มะระขี้นก 
       เป็นผักพื้นบ้านที่ขึ้นได้ทั่ว ๆ ไป ลูกเล็กรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองอมแดง ปลายผลจะแตกเป็น 3 แฉก นกชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด แล้วก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ จึงเรียกกันว่ามะระขี้นก

น้ำมะระขี้นก

ส่วนที่ใช้และวิธีทำ
นำมะระขี้นกล้างให้สะอาด ผ่าซีก แกะเอาเมล็ดออก หั่นเป็นชิ้นยาวๆบางๆ ตามขวางของผลมะระ นำใบเตยหั่นเป็นท่อนสั้นๆตากแห้งแล้วคั่วให้เหลืองกรอบเก็บในขวดปากกว้าง เอามะระขี้นก ใบเตยหอมและน้ำใส่ในหม้อต้มให้เดือด หรือถ้าไม่อยากต้ม จะใส่ในถ้วยแก้ว ที้งไว้ 5-10 นาที แล้วนำมาดื่มใด้ไม่ต้องกลัวว่าจะขมเวลาดื่ม เพราะแก้ไขด้วยการเอาใบเตยหอมและน้ำมะนาวมาผสมช่วยกลบความขมของมะระขี้นกใด้ดี

ประโยชน์และสรรพคุณ
      1. จะช่วยเจริญอาหาร การที่ผลมะระขี้นกช่วยเจริญอาหารได้ เพราะในเนื้อผลมีสารที่มีรสขมกระตุ้นให้น้ำย่อยออกมา มากขึ้น จึงทำให้รับประทานอาหารได้เพิ่มขึ้นใช้ผลมะระปิ้งไฟ หรือลวกจิ้มน้ำพริก 
      2. ยับยั้งเชื้อ HIV หรือเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย
      3.มีวิตามินเอมากช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังมี แคลเซียม ฟอสฟอรัสและวิตามินซี ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน


---------------------------------------------------------------------

ต้นตำลึง

ตำลึง 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Coccinia grandis (L.) Voigt)
         เป็นไม้เลื้อยที่มีมือจับใช้สำหรับเลื้อยเกาะต้นไม้ใหญ่หรือไม้ปักหลัก มีสีเขียวจัดเป็นสมุนไพรไทย ตำลึงมีชื่อท้องถิ่นอื่นอีกคือ ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กะเหรี่ยงและแม่ฮ่องสอน) ตำลึง,สี่บาท (ภาคกลาง) ผักตำนิน (ภาคอีสาน)


น้ำตำลึง

ส่วนที่ใช้และวิธีทำ
          นำใบตำลึงมาล้างให้สะอาดแล้วหั่นใส่เครื่องปั่น ใส่น้ำต้มครึ่งหนึ่ง (7 ช้อนคาว) ปั่นให้ละเอียด นำไป  กรอง ใส่น้ำที่เหลือคั้นเอาแต่น้ำ นำน้ำที่ได้ไปใส่เกลือ น้ำมะนาว น้ำเชื่อม ชิมรสตามชอบ

ประโยชน์และสรรพคุณ
         ให้วิตามินเอสูงมาก ซึ่งช่วยบำรุงสายตา มีแคลเซี่ยม และฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและวิตามินซี ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน นำใบมาตำให้ละเอียด แก้อาการแพ้ อาการอักเสบ แมลงกัดต่อย ช่วยป้องกันโลหิตจาง โรคมะเร็งและหัวใจขาดเลือด
-ใบใช้ในการแก้ไข้ตัวร้อน ตาแดง ตาเจ็บ
-เถานำน้ำต้มจากเถาตำลึงมาหยอดตาแก้ตาแดง ตาฟาง
-ดอกตำลึงช่วยทำให้หายจากอาการคันได้
-รากใช้แก้อาการอาเจียน ตาฝ้า
-น้ำยางจากต้นและใบช่วยลดน้ำตาลในเลือด

มะขามและแมงลัก


ชื่อสมุนไพร

ผลมะขาม


มะขาม 
       เป็นไม้เขตร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน ต่อมามีการนำเข้ามาในประเทศแถบเขตร้อนของเอเชีย และประเทศแถบละตินอเมริกา และในปัจจุบันมีมากในเม็กซิโก

       ชื่อมะขามในภาคต่างๆ เรียก มะขามไทย ภาคกลาง ขาม ภาคใต้ ตะลูบ โคราช ม่วงโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) อำเปียล เขมร จังหวัดสุรินทร์ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า tamarind ซึ่งมาจากภาษาอาหรับ:   تمر هندي (tamr hindī) แปลว่า Indian date


น้ำมะขาม

ส่วนที่ใช้และวิธีทำ
นำมะขามสดไปลวกในน้ำต้มเดือด ตักขึ้น แกะเอาแต่เนื้อมะขาม นำไปต้ม กับน้ำตาลส่วนผสมให้เดือด เติมน้ำเชื่อม เกลือชิมรสตามชอบ แต่ถ้าใช้มะขามเปียก ควรแช่น้ำไว้สัก 1/2 ชั่วโมง เพื่อให้มะขามเปียก เปื่อยยุ่ยออกมารวมกับน้ำ ก่อนนำไปต้มจนเดือดแล้วปรุงด้วยน้ำเชื่อมและเกลือ

ประโยชน์และสรรพคุณ
      -แก้อาการท้องผูกถ่ายไม่ออก ใช้เนื้อฝักแก่หรือมะขามเปียก 10–20 ฝัก (หนักประมาณ 70–150 กรัม) จิ้มกับเกลือรับประทาน หรือใส่เกลือเติมน้ำคั้นดื่ม
      -แก้อาการท้องเดินกองทัพ ใช้เปลือกต้น ทั้งสดหรือแห้งประมาณ 1–2 กำมือ (15–30 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใสหรือน้ำรับประทาน
      -ถ่ายพยาธิลำไส้หมา ใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกเอาออกเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20–30 เมล็ด เหมาะสำหรับถ่ายพยาธิไส้เดือน
แก้ไอขับเสมหะเสลดติดคอ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทาน



-----------------------------------------------------------


ต้นแมงลัก
เม็ดแมงลัก

แมงลัก 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum × citriodourum 
        เป็นพืชล้มลุกในสกุลกะเพรา-โหระพา แมงลักมีใบเล็ก สีอ่อน บอบบาง ช้ำง่ายและเหี่ยวง่ายกว่า ชื่อสามัญเดิมเรียกกันว่า hoary basil (hoary แปลว่าผมหงอก) โดยนำมาจากลักษณะที่มีขนอ่อนสีขาวๆ บริเวณก้านใบและยอดอ่อน ต่อมาก็เปลี่ยนมาเรียกว่า lemon basil ตามลักษณะกลิ่นที่คล้ายส้ม-มะนาว ส่วนแมงลักศรแดงของไทยเรียกว่า thai lemon basil


น้ำแมงลัก

ส่วนที่ใช้และวิธีทำ
      เอาเม็ดแมงลักมาเลือกเอาเศษผงออก แล้วเอาใส่ภาชนะที่ทนความร้อน  เอาน้ำร้อนหรือน้ำเย็น เทลงใส่ในเม็ดแมงลัก คนให้เข้ากัน ปล่อยให้เม็ดแมงลักพองตัวออกจนมีลักษณะเป็นเมือกขาวใส ตรงกลางเม็ดแมงลักจะมีสีดำๆ เอาน้ำตาลใส่ในเม็ดแมงลัก ชิมรสตามชอบ

ประโยชน์และสรรพคุณ
       แมงลัก ใบใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร เช่น ห่อหมก แกงเลียง อ่อม แกงคั่ว ขนมจีนน้ำยา พบมากในอาหารอีสาน เมล็ดแชน้ำให้พอง ใช้ทำขนมหรือรับประทานกับน้ำแข็งไส ไอศกรีม ใบมีฤทธิ์ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร เมล็ดช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบาย สกัดน้ำมันหอมระเหยจากใบไปใช้ในอุตสาหกรรมสบู่และเครื่องสำอาง กิ่งและใบทุบแล้ววางในเล้าไก่ ช่วยไล่ไรตัวเล็กๆได้
 และช่วยลดไขมันในเส้นเลือด เป็นการช่วยลดความเสี่ยง ต่อการเป็นโรคหัวใจ แก้ท้องผูก ระบายท้อง ถ้าให้ใด้ผลดีควรดื่มก่อนนอน

มะเฟืองและมะม่วง


ชื่อสมุนไพร
ผลมะเฟือง


มะเฟือง 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Averrhoa carambola L.
ชื่อสามัญ: Carambola
        เป็นไม้ต้นพื้นเมืองของอินโดนีเซีย อินเดีย และศรีลังกา และเป็นที่นิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย มาเลเซีย และบางส่วนของเอเชียตะวันออก รวมทั้งมีเพาะปลูกในสาธารณรัฐโดมินิกัน บราซิล เปรู กานา Guyana ซามัว ตองกา ไต้หวัน French Polynesia คอสตาริกา และ ออสเตรเลีย ในสหรัฐอเมริกามีแหล่งเพาะปลูกเชิงพาณิชย์อยู่ที่ฟลอริดาตอนใต้และฮาวาย

น้ำมะเฟือง

ส่วนที่ใช้และวิธีทำ
ล้างมะเฟืองที่แก่จัดให้สะอาด หั่น แกะเมล็ดออก แล้วนำใส่เครื่องปั่น เติมน้ำสุกปั่นจนละเอียดแล้วเติมน้ำเชื่อม เกลือ ชิมรสตามใจชอบ ถ้าต้องการเก็บไว้ดื่ม ให้ตั้งไฟให้เดือด 3-5 นาที กรอกใส่ขวด นึ่ง 20-30 นาที เย็นแล้วนำเข้าตู้เย็น

ประโยชน์และสรรพคุณ
น้ำมะเฟืองมีสีเหลืองอ่อนๆมีกลิ่นหอม ประกอบด้วยคุณค่าทางอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี ฟอสฟอรัสและแคลเซียมเล็กน้อย เป็นยาขับเสมหะ ป้องกันโรคโลหิตจาง ขับปัสสาวะรวมทั้งป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน แก้ร้อนใน ดับกระหาย ลดความร้อนภายในร่างกายถอนพิษก็ได้ แต่สามารถเพิ่มโอกาสเป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้เนื่องจากสารออกซาเลตที่มีอยู่มากในมะเฟืองจะไปจับตัวกับแคลเซียมตกเป็นผลึกในไต และยังทำให้เกิดอาการไตวายเฉียบพลันได้หากได้รับเข้าไปในปริมาณที่มาก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับภาวะการขาดน้ำของร่างกายด้วย

--------------------------------------------------------



ผลมะม่วง

มะม่วง 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Mangifera indica
      เป็นไม้ยืนต้นในสกุล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์ Anacardiaceae เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เพราะการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลาย นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อน มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง




น้ำมะม่วง

ส่วนที่ใช้และวิธีทำ
       เตรียมวิธีที่ 1 ใช้มะม่วงดิบ เช่น มะม่วงแก้วหรือมะม่วงแรด เป็นมะม่วงที่มีรสเปรี้ยวไม่มากนัก จะได้น้ำมะม่วงที่มีรสกลมกล่อมปอกเปลือกมะม่วงออก ล้างน้ำ สับให้เป็นเส้นเล็กๆคั้นกับน้ำสุก กรองด้วยผ้าขาวบาง เอากากออกเติมน้ำเชื่อม เกลือป่นชิมรสตามชอบ ใส่น้ำแข็งดื่มจะได้น้ำมะม่วงใส สีขาวนวล มีรสหวานอมเปรี้ยว

       เตรียมวิธีที่ 2 ใช้มะม่วงดิบเหมือนวิธีที่ 1 คือ สับให้เป็นเส้นเล็กๆปั่นให้ละเอียด เติมน้ำสุก น้ำเชื่อมและเกลือป่นตามต้องการชิมดูรสตามใจชอบ น้ำมะม่วงวิธีนี้ จะขุ่นขาว เพราะมีเนื้อมะม่วงปนอยู่

       เตรียมวิธีที่ 3 ใช้มะม่วงสุก ล้างมะม่วงให้สะอาด ปอกเปลือก ฝานเนื้อเข้าเครื่องปั่นเติมน้ำสุก เติมเกลือเล็กน้อย ชิมรส ถ้าต้องการหวานให้เติมน้ำเชื่อมลงไป น้ำมะม่วงควรเตรียมและดื่มให้หมดภายใน 1 วัน


ประโยชน์และสรรพคุณ
         ผลมะม่วงนำมารับประทานได้ทั้งดิบและสุก มะม่วงดิบเปลือกสีเขียวเนื้อสีขาวส่วนใหญ่มีรสเปรี้ยว ยกเว้นบางพันธุ์ที่เรียกว่ามะม่วงมัน ส่วนผลสุกจะมีสีเหลืองทั้งเปลือกและเนื้อ รับประทานสด หรือ นำไปทำเป็นอาหารเช่น ข้าวเหนียวมะม่วง อีกทั้งมีการนำไปแปรรูป เช่น มะม่วงแก้ว มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำแยมมะม่วง พายมะม่วง เป็นต้น
         มีวิตามินเอและซีสูง ช่วยบำรุงสายตาป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และยังมีฟอสฟอรัสแคลเซียมและเหล็กเล็กน้อย เป็นยาระบายอ่อนๆ

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

กะเพราแดงและมะนาว


ชื่อสมุนไพร



ต้นกะเพราแดง

กะเพราแดง 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum sanctum 
ชื่อสามัญ Holy Basil, Sacred Basil
        เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มต้นไม่ต่อยสูงมากนัก สูงประมาณ 30 - 60 ซม. นิยมนำใบกะเพรามาประกอบอาหารคือคือใช้เป็นผักสวนครัว เช้น ผัดกะเพรา กะเพรามีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และ กะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว ข้อแตกต่างระหว่า กะเพราขาว และ กะเพราแดง นั้นคือ สีสันและลักษณะของใบเพียงเล็กน้อยเท่านั้นส่วนพรรคุณของกะเพรา ก็ยังมีเหมือนกัน

ส่วนทีใช้และวิธีทำ
        เอาใบกระเพราแดงสดมาล้างให้สะอาด แล้วนำไปตากแดด 2-3 แดดจนแห้ง เก็บไว้ในกระป๋อง เวลาชงเอากระเพราแดงแห้งใส่ในกระติกน้ำร้อนหรือชงกับน้ำ 1 แก้วก็ใด้ ทิ้งไว้ 5-10 นาทีแล้วดื่มใด้เลย

ประโยชน์และสรรพคุณ
         แก้ลม ขับลม จุกเสียดในท้อง เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น ใช้รักษาโรคของเด็ก คือเอาใบกะเพรามาตำละลายกับน้ำผึ้ง หยอดให้เด็กแรกเกิดกินเรียกว่าถ่ายขี้เถ้า หรือตำแล้วบีบเอาน้ำผสมกับมหาหิงค์ ทารอบสะดือ แก้ปวดท้องของเด็ก ปรุงเป็นยาผงส่วนมากจะใช้เฉพาะใบ รากแห้งชงกับน้ำร้อนดื่มแก้ธาตุพิการได้ดี เป็นยากันยุง และใบกับดอกผสมปรุงอาหาร

เป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลม เกิดจากน้ำมันหอมระเหย และสาร Eugenol มีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด 




-------------------------------------------------------------------




ผลมะนาว

มะนาว 
อังกฤษ: Lime
      เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง ผลมีรสเปรี้ยวจัด จัดอยู่ในสกุลส้ม (Citrus) ผลสีเขียว เมื่อสุกจัดจะเป็นสีเหลือง เปลือกบาง ภายในมีเนื้อแบ่งกลีบๆ ชุ่มน้ำมาก นับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงรส นอกจากนี้ยังถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการและทางการแพทย์ด้วย

น้ำมะนาว



ส่วนทีใช้และวิธีทำ
       นำมะนาวมาล้างเปลือกแล้วผ่าออก เอาเมล็ดมะนาวออกให้หมดคั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำ น้ำเชื่อม เกลือ คนให้เกลือละลายชิมรสตามชอบ หรืออาจเอาเปลือกของผลสดประมาณครึ่งผล หรือทุบเล็กน้อยพอให้น้ำมันออกชงน้ำร้อนดื่ม เวลามีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด


ประโยชน์และสรรพคุณ
        มะนาวเป็นผลไม้ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดซิตริก กรดมาลิค ไวตามินซี จากน้ำมะนาว ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากผิวมะนาว มีไวตามินเอ และซี ทั้งยังมีธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในน้ำมะนาวอีกด้วย
       และมีวิตามินซีมากช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ช่วยขับเสมหะ ลดอาการไอ เจ็บคอ คลื่นใส้อาเจียนและช่วยขับลมในกระเพาะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อและอ่อนเพลีย





วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ข่าและคะน้า


ชื่อสมุนไพร



ข่า

ข่า 
       เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า "เหง้า" อยู่ในวงศ์ขิง เป็นไม้ล้มลุก เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารในประเทศไทยและอินโดนีเซีย ข่ามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กฎุกกโรหินี (กลาง) ข่าหยวก (เหนือ) ข่าหลวง (ตะวันออกเฉียงเหนือ,เหนือ) สะเอเชย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) และ เสะเออเคย (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)



น้ำข่า

ส่วนที่ใช้และวิธีทำ
เอาข่าแก่ที่ตากแห้งแล้วใส่ลงไปในถ้วยกาแฟ 4-5 แว่น .เอาน้ำร้อนเดือดใส่ลงไปค่อนถ้วย ปิดฝาถ้วย ทิ้งไว้ซักครู่หนึ่งแล้วค่อยดื่ม ควรดื่ม 2-3 ถ้วยต่อวัน ก็ทำให้สบายท้องขึ้น หรือจะใช้ ข่าสดก็ได้ 10-12 แว่น นำมาทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มก็ได้

ประโยชน์และสรรพคุณ
        ข่าเป็นพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอาหารมากมาย ใช้ใส่ในต้มข่า ต้มยำ น้ำพริกแกงทุกชนิดใส่ข่าเป็นส่วนประกอบ ยกเว้น แกงเหลืองและแกงกอและทางภาคใต้ที่ไม่นิยมใส่ข่า มีบทบาทในการดับกลิ่นคาวของเนื้อและปลา

        หน่อข่าอ่อน เป็นหน่อของข่าที่เพิ่งจะแทงยอดออกมาจากลำต้นใต้ดิน ถ้าอายุประมาณ 3 เดือนเรียกหน่อข่า ถ้าอายุ 6-8 เดือนเรียกข่าอ่อน ถ้าอายุมากกว่า 1 ปีจัดเป็นข่าแก่ ปริมาณน้ำมันหอมระเหยประมาณ 3% หน่อข่าอ่อนทั้งสดและลวกใช้จิ้มหลนและน้ำพริก นำมายำ

        ข่ายังมีฤทธิ์ทางยา เหง้าแก่แก้ปวดท้อง จุกเสียด แน่น ดอกใช้ทาแก้กลากเกลื้อน ผลช่วยย่อยอาหาร แก้คลื่นเหียน อาเจียน ต้นแก่นำไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้ปวดเมื่อย เป็นตะคริว ใบมีรสเผ็ดร้อน แก้พยาธิ สารสกัดจากข่ามีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย น้ำมันหอมระเหยจากข่ามีฤทธิ์ทำให้ไข่แมลงฝ่อ กำจัดเชื้อราบางชนิดได้ ใช้ผสมกับสะเดาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดแมลง  ข่าลดการบีบตัวของลำไส้ ขับน้ำดี ขับลม ลดการอักเสบ ยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อราใช้รักษากลากเกลื้อน


---------------------------------------------------------------



คะน้า


คะน้า 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Brassica alboglabra
อังกฤษ:kale
    เป็นพืชผักใบเขียวที่นิยมรับประทานทั่วไปโดยบริโภคส่วนของใบและลำ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียและปลูกกันมากในประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซียและประเทศไทย ซึ่งชาวจีนเรียกคะน้าว่า ไก่หลันไช่ (จีน芥兰)



น้ำคะน้า


ส่วนที่ใช้และวิธีทำ 
นำใบคะน้าล้างให้สะอาด หั่นใส่เครื่องปั่นเติมน้ำต้มสุกครึ่งหนึ่งปั่นจนละเอียด นำมากรอง จากนั้นเติมน้ำส่วนที่เหลือลงไปเติมน้ำเชื่อม น้ำมะนาว เกลือ ชิมรสตามชอบ

ประโยชน์และสรรพคุณ
ให้วิตามินเอสูงมากช่วยบำรุงสายตา คะน้าเป็นแหล่ง เบต้า-แคโรทีน ซึ่งช่วยต้านการก่อมะเร็งรองลงมามีแคลเซียมบำรุงกระดูกและฟัน และมีวิตามินซีช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ช่วยให้เนื้อเยื่อของเราทำงานได้ดี ป้องกันโรคโลหิตจาง ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้กระหายน้ำ





ฟ้าทะลายโจรและเห็ดหลินจือ


ชื่อสมุนไพร


ใบฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Andrographis paniculata Wall ex Ness.
เป็นพืชล้มลุก โดยในตำรายาโบราณของไทย จัดให้เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ที่สามารถหามารับประทานแก้โรคได้เอง



น้ำฟ้าทะลายโจร


ส่วนที่ใช้และวิธีทำ
เอาฟ้าทะลายโจรหั่นตากแห้ง ใส่หม้อต้ม .เอาใบเตยหอมหั่นใส่ลงไปด้วย เพื่อสร้างความหอมและน่าดื่ม .ยกขึ้นตั้งบนเตาไฟ ต้มจนเดือด เคี่ยวจนงวด ยกลงเอากากออก แบ่งดื่มวันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น

ประโยชน์และวรรพคุณ
ช่วยโรคภูมิแพ้ใด้ดี แก้ร้อนใน เจ็บคอ ตัวร้อน ปวดหัว ช่วยเจริญอาหาร ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณหลายประการ เช่น แก้ไข้ทั่วๆ ไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ระงับอาการอักเสบ ไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนัง ฝี แก้ติดเชื้อ ที่ทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ เป็นยาขมเจริญอาหาร มีฤทธิ์ระงับการติดเชื้อหรือระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้ ซึ่งควรใช้ให้ถูกต้องด้วยจะได้ผลดี


---------------------------------------------------------------



เห็ดหลินจือแดง

เห็ดหลินจือ 
(อังกฤษLingzhi
          เป็นยาจีน (Chinese traditional medicine) ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี นับตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา เห็ดหลินจือเป็นของหายากมีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน และได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ “เสินหนงเปินเฉ่า” ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่ที่สุดของจีนมีคนนับถือมากที่สุด ได้กล่าวไว้ว่า เห็ดหลินจือเป็น “เทพเจ้าแห่งชีวิต” (Spiritual essence) มีพลังมหัศจรรย์ บำรุงร่างกายใช้เป็นยาอายุวัฒนะในการยืดอายุออกไปให้ยืนยาว ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และยังสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง ชาวจีนโบราณต่างยกย่องเห็ดหลินจืออย่างเหนือชั้น ว่าดีที่สุดในหมู่สมุนไพรจีน นอกจากจะมีสรรพคุณเหนือชั้นกว่าแล้วยังปลอดภัยไม่มีพิษใด ๆ ต่อร่างกาย


น้ำเห็ดหลินจือ

ส่วนที่ใช้และวิธีทำ
นำเห็ดหลินจือแห้งและน้ำสะอาดใส่ลงในหม้อเคลือบหรือหม้อดินยิ่งดี ยกขึ้นตั้งบนเตาไฟ ต้มจนเดือด แล้วหรี่ไฟลงให้น้ำเดือดปุดๆต่อไป ประมาณ 15-20 นาที แล้วจึงยกลง ควรดื่มน้ำสกัดจากเห็ดที่มีอุณหภูมิเท่าอุณหภูมิร่างกาย ให้ดื่มแทนน้ำใด้ทั้งวัน


ประโยชน์และวรรพคุณ
สารอาหารในเห็ดหลินจือ จะเข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ในร่างกายให้ทำหน้าที่ปรกติ และสามารถต้านทานการเจริญเติบโตของเซลมะเร็ง ต้านการจับตัวของลิ่มเลือด รวมทั้งลดน้ำตาลในเลือด เป็นยาอายุวัฒนะ มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายเกือบทุกระบบของร่างกาย เช่น
 ระบบใหลเวียนโลหิต เช่น โรคที่เกิดจากการมีคลอเรสเตอรอล ในเลือดสูง เส้นเลือดอุดตัน หลอดเลือดแข็งตัว ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง โรคหัวใจ และรอบเดือนไม่ปรกติของสตรี
 ระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคกระเพาะอักเสบ ลำใส้อักเสบ ท้องผูก ทางเดินอาหารอักเสบเรื้อรัง ริดสีดวงทวาร
 โรคมะเร็งในอวัยวะต่างๆของร่างกาย
 โรคอื่นๆ เช่น โรคตับอักเสบ โรคไขข้ออักเสบ โรคอ้วน อัมพาต อัมพฤกษ์ โรคไตอักเสบ โรคปวดหัวข้างเดียวนอนไม่หลับ และโรคเครียด