วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

อัญชันและมะตูม



ชื่อสุมนไพร

ดอกอัญชัน
อัญชัน 
อังกฤษ: Butterfly pea
ชื่อวิทยาศาสตร์: Clitoria ternatea L.
เป็นไม้เถา ลำต้นมีขนนุ่ม มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือแดงชัน (เชียงใหม่) และเอื้องชัน,เองชัญ (เหนือ) เมื่อคั้นออกมาจะได้เป็นสีฟ้า



น้ำอัญชัน



ส่วนที่ใช้และวิธีทำ
ใช้ส่วนดอก ตากแห้ง ต้มดื่มเป็นชา

ประโชน์และสรรพคุณ
ตับกระหาย มีสารแอนโธชัยยานิน มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิต้านทาน
-ดอก ใช้ปลูกผมทำให้ผมดกดำ งามงามมากขึ้น เพราะดอกอัญชันมีสารที “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) ซึ่งช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดีมากขึ้น 
-เมล็ด เป็นยาระบาย
-ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา



--------------------------------------------------------------

ผลมะตูม

มะตูม
อังกฤษ: Bael
ชื่อวิทยาศาสตร์: Aegle marmelos
ภาคเหนือเรียกว่า มะปิน ภาคใต้เรียกว่า กะทันตาเถร, ตูม และตุ่มตัง ภาคอีสานเรียกว่า หมากตูม ภาษาเขมรเรียกว่า พะโนงค์ ชาวกะเหรี่ยงเรียกว่า มะปีส่า[1] เป็นไม้ผลยืนต้นพื้นเมืองในพื้นที่ป่าดิบแล้วบนเนินเขาและที่ราบในอินเดียตอนกลางและตอนใต้ พม่า ปากีสถาน บังกลาเทศ เนปาล เวียดนาม ลาว และกัมพูชา

น้ำมะตูม

ส่วนที่ใช้และวิธีทำ
ใช้มะตูมดิบหั่นเป็นแว่นตากแดดแล้วอบหรือหั่นเป็นชิ้น คั่วให้หอม ชงเป็นชา


ประโชน์และสรรพคุณ
เป็นยาระบายขับลม ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ แก้อาการร้อนในได้ดี ผลมะตูมใช้รับประทานได้ทั้งแบบสดและแบบแห้ง น้ำจากผลเมื่อนำไปกรองและเติมน้ำตาลจะได้เครื่องดื่มคล้ายน้ำมะนาว และยังใช้ในการทำ Sharbat ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ได้จากการนำเนื้อผลมะตูมไปผสมกับมะขาม ผลอ่อนฝานแล้วตากแห้งนำไปต้มกับน้ำเป็นน้ำมะตูม นำมายำ ใบอ่อนและยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสลัด กินกับน้ำพริก ลาบ และข้าวยำ ผลแก่แต่เปลือกยังนิ่มนำมาฝานแล้วทำเป็นมะตูมเชื่อม ซึ่งนำไปเป็นส่วนผสมของขนมอื่นอีกหลยอย่าง มะตูมสุก เนื้อเละใช้รับประทานเป็นผลไม้ และใช้เป็นยารักษาอาการท้องร่วง ท้องเดิน โรคลำไส้ ตาแห้งไข้หวัดธรรมดา และยังใช้รักษาอาการท้องผูกเรื้อรังได้เป็นอย่างดี


------------------------------------------------------------------



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น