วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เตยหอมและว่านหางจระเข้



ชื่อสมุนไพร

เตยหอม

เตยหอม 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pandanus amaryllifolius
        เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบเป็นทางยาว สีเข้ม ค่อนข้างแข็ง เป็นมัน ขอบใบเรียบ ในใบมีกลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหย Fragrant Screw Pine สีเขียวจากใบเป็นสีของคลอโรฟิลล์ ใช้แต่งสีขนมได้


น้ำเตยหอม

ส่วนที่ใช้และวิธีทำ
       นำใบเตยสดล้างให้สะอาด หั่นเป็นท่อนๆใส่หม้อต้มด้วยน้ำสะอาด พอเดือดก็ลดไฟลง เคี่ยวไปเรื่อยๆจนมองเห็นสีของใบเตยสีเขียวอ่อนเจือจาง ตักใบเตยออกด้วยการกรองให้เหลือแต่น้ำใบเตย เอาเกลือป่นใส่ครึ่งช้อนชา ตามด้วยน้ำเชื่อม ปล่อยให้เดือดต่อไปอีก 5 นาที

ประโยชน์และสรรพคุณ
        ในบังกลาเทศเรียกว่า ketaki ใช้เพิ่มกลิ่นหอมของ ข้าวพิลาฟ หรือข้าวปุเลา บิรยานี และพุดดิ้งมะพร้าว payesh ในอินโดนีเซียเรียก pandan wangi พม่าเรียก soon-mhway ในศรีลังกาเรียก rampe [2] ในเวียดนามเรียก lá dứa ใบใช้ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง และมีขายในรูปใบแช่แข็งในประเทศที่ปลูกไม่ได้ ใช้ปรุงกลิ่นในอาหารของหลายประเทศเช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทย บังกลาเทศ เวียดนาม จีน ศรีลังกา และพม่า โดยเฉพาะข้าวและขนมช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยลดอาการกระหายน้ำ ทำให้ชุ่มชื่น


----------------------------------------------------


ว่านหางจระเข้


ว่านหางจระเข้ 
        เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม (Lilium) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน



น้ำว่านหางจระเข้


ส่วนที่ใช้และวิธีทำ
         เอาว่านหางจระเข้มาปอกเปลือก ล้างน้ำเอายางสีเหลืองออกให้หมด ต้มให้สุกแล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใบเตยหอมเช่นกัน นำมาหั่นชิ้นเล็กๆนำไปต้มเพื่อเอาน้ำมาใช้ประโยชน์ .เอาว่านหางจระเข้ผสมรวมกับน้ำเตยหอม น้ำเชื่อม ใส่เครื่องปั่น ตามด้วยน้ำแข็งทุบ ปั่นจนละเอียด เทใส่แก้วดื่มใด้ทัน

ประโยชน์และสรรพคุณ
        วุ้นในใบว่านหางจระเข้มีสารเคมีอยู่หลายชนิด เช่น Aloe-cmidin, Aloesin, Aloin, สารประเภท Glycoprotein และอื่นๆ ยางที่อยู่ในว่านหางจระเข้มีสาร Anthraquinone ทีมีฤทธิ์ขับถ่ายด้วย ใช้ทำเป็นยาดำ มีการศึกษาวิจัยรายงานว่า วุ้นหรือน้ำเมือกของว่านหางจระเข้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง และแผลในกระเพาะอาหารได้ดี เพราะในวุ้นใบว่านหางจระเข้นอกจากจะมีสรรพคุณรักษาแผลต่อต้านเชื้อแบคทีเรียแล้วยังช่วยสมานแผลได้ด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น